เทรนด์ที่ 1 : การควบรวมและการซื้อกิจการ
จากรายงานของ PwC (2022) การควบรวมกิจการในธุรกิจภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ในระดับสูงขึ้นและคาดว่าจะดำเนินการจนถึงปี 2023 เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ ต้องเผชิญกับหลายอย่าง เช่น ความไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องกับการระบาด สงครามในยูเครน การขาดแคลนวัสดุและอุปกรณ์ และการสะดุดในบางโซ่อุปทาน ทำให้หลายบริษัทกำลังพิจารณาโอกาสและความพยายามที่จะควบคุมโซ่อุปทานแบบครบวงจร โดยบริษัทขนาดใหญ่จะเข้าซื้อบริษัทที่เล็กกว่าเพื่อโอกาสสร้างลูกค้าหรือข้อเสนอบริการใหม่ได้
เทรนด์ที่ 2 : บริษัทด้านโลจิสติกส์กำลังดำเนินการและลงทุนในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีครบวงจรมากขึ้น
จากผลวิจัยของ Accenture ระบุว่าบริษัทด้านโลจิสติกส์เชื่อว่าลูกค้าต้องการให้นำเสนอชุดบริการโลจิสติกส์ที่ควบคุมได้ทุกมิติมากขึ้น รวมโซลูชันตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ หรือขยายบริการที่มีอยู่ทั่วทั้งภูมิภาค อุตสาหกรรม หรือรูปแบบการขนส่งมากยิ่งขึ้น
บริษัทส่วนใหญ่พยายามขยายบริการเพื่อตอบสนองลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น และเป็นช่องทางในการเติบโต ซึ่งรวมถึงการจ้างงานจากภายนอก การใช้ Outsource เพื่อลดการลงทุนสำหรับบริการใหม่ ๆ การลดต้นทุนและลดความเสี่ยงด้านเงินทุน องค์กรต่างๆ มีวิสัยทัศน์กว้างไกลมากขึ้น ผนวกกับการใช้บริการที่ปรึกษาเฉพาะทางเพื่อให้แน่ใจว่าแนวทางการนำไปปฏิบัตินั้นมีประสิทธิภาพสูงสุดจริง
เทรนด์ที่ 3 : การปรับมาตรฐานการให้บริการจะกลับสู่รูปแบบปกติ
ในช่วงที่มีโรคระบาด หลายครั้งมีการแย่งชิงลูกค้า ปรับแผนดึงผู้ใช้ สร้างระบบการปรับตัว ความยืดหยุ่น จึงเกิดโปรโมชั่น ระดับการให้บริการสำหรับลูกค้า เพื่ออยากได้งานมาลดภาระต้นทุนของกิจการ และเมื่อการแพร่ระบาดจะกลับสู่ภาวะปกติจะเกิดกี่ปรับตัวของตลาด
การขาดแคลนผู้ให้บริการขนส่งนั้นทำให้มีผู้เล่นรายใหม่และรายเล็กไหลเข้ามาในระบบการให้บริการขนส่งจำนวนมาก การควบคุมคุณภาพในภาคการขนส่งสินค้าจึงยากที่จะคาดการณ์ได้ เนื่องจากความไม่เข้าใจในธุรกิจนี้ ดังนั้น การจัดหาผู้ให้บริการขนส่งที่เหมาะสมกับความต้องการของสินค้าจึงเป็นความสำคัญในการพิจารณาที่จะเลือกใช้บริการ
“การหาผู้จำหน่ายและลูกค้าเพื่อให้ธุรกิจมีความสอดคล้องกัน คือ กุญแจสำคัญ”
เทรนด์ที่ 4 : บริษัทต่างๆ จะยังคงยอมรับตัวเลือกการทำงานในรูปแบบ Hybrid Working
ความต้องการบุคลากรด้านโลจิสติกส์และการขนส่งจะยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นปัญหาก่อนที่จะเกิดโรคระบาดหรือการลาออกครั้งใหญ่ บริษัทต่างๆ กำลังปรับใช้กลยุทธ์หลายอย่าง รวมถึงการปรับผลประโยชน์และวัฒนธรรมในที่ทำงาน เพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีความสามารถไว้ การทำงานจากระยะไกล หรือ Work from Home เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่สำคัญที่สุดในช่วงที่เกิดโรคระบาด และยังเป็นการดึงดูดพนักงานที่คาดหวังเช่นเดียวกันนี้เช่นกัน เพราะโรคระบาดเปลี่ยนวิธีการทำงานของคนแล้ว
เทรนด์ที่ 5 : การใช้ที่ปรึกษาจากภายนอกหรือผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีจะเติบโตขึ้นตามการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้
อุตสาหกรรมต่างๆ กำลังเล็งเห็นประโยชน์จากการจ้างบริษัทที่ปรึกษามากขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการนำกลยุทธ์มาปรับใช้งาน และการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพราะการขาดแคลนผู้มีความสามารถด้านไอที การมีส่วนร่วมดังกล่าวจึงมักดึงเอาผู้มีความสามารถด้านต่างๆ จากภายนอกเข้ามาใช้งานร่วมกับระบบการทำงานของบริษัทปัจจุบัน
การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบริษัทในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องดึงดูดแรงงานที่มีทักษะจำนวนมากขึ้น และใช้ความเชี่ยวชาญเข้ามาใช้ให้เต็มประสิทธิภาพ
เทรนด์ที่ 6 : บริษัทต่างๆ จะนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาปรับใช้เพื่อการฝึกอบรมพนักงานมากขึ้น
บริษัทส่วนใหญ่กำลังมองหาเทคโนโลยีไมโครเทรนนิ่ง (Micro training) ที่สร้างประสิทธิภาพและลดเวลาการเตรียมความพร้อม ยกระดับทักษะให้กับพนักงานสามารถเริ่มงานได้เร็วขึ้น ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่เติบโตเร็วที่สุด ซึ่งจะเข้ามาเปลี่ยนธุรกิจในเร็ววันนี้ ซึ่งสอดคล้องตามรายงานของ NewVantage ธุรกิจ 9 ใน 10 แห่งมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องในระบบ AI
ธุรกิจหนึ่งที่เห็นการปรับกระบวนการให้เหมาะสมคือการฝึกอบรมและพัฒนาพนักงาน ระบบ AI มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการจ้างงาน การเริ่มงาน และการพัฒนาทักษะวิชาชีพขององค์กร ตามรายงานของ Gartner กว่า 20% ของเนื้อหาทางธุรกิจ รวมถึงเนื้อหาการฝึกอบรม จะถูกเขียนโดยระบบ AI มากขึ้นภายในปี 2025
บทสรุป
อุตสาหกรรมโลจิสติกส์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป ถึงแม้จะต้องเผชิญต่อภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนและภัยคุกคามจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยก็ตาม
“ความยืดหยุ่น ประสิทธิภาพ ความน่าเชื่อถือ ความเร็ว และคุณภาพ” เป็นเป้าหมายที่สำคัญต่อวงจรการดำเนินโลจิสติกส์ที่ถูกทดสอบจากความท้าทายต่างๆ จึงถูกบังคับให้ใช้เทคโนโลยีและรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ในการปรับปรุงระบบการดำเนินการ อย่างไรก็ตาม ระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยจะขับเคลื่อนศักยภาพสูงสุดออกมาไม่ได้ถ้าปราศจากบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจระบบเป็นอย่างดี ซึ่งนำไปสู่การสร้างทีมงานที่เหมาะสมที่จะเป็นภารกิจสำคัญที่สุดในการนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของธุรกิจ
Source : supplychainbrain.com